14 กรกฎาคม 2551

พันธะไอออนิก

1. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของสาร


          สมบัติของสาร เช่น โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) (ดังภาพประกอบที่ 1) เป็นผลมาจากการเกิด
พันธะเคมี ซึ่งยึดอะตอมของธาตุ หรืออะตอมกับกลุ่มอะตอมเข้าด้วยกัน ดังนั้นพันธะเคมีจึงเป็นแรง
ของอะตอม หรือกลุ่มอะตอมในสารที่กระทำต่อกันอย่างแข็งแรง





ภาพประกอบที่ 1  ผลึกของโซเดียมคลอไรด์
ที่มา : Ebbing and Gammon (2007 : 329)
 
 
 
 
 
 
          การที่โมเลกุลหรืออะตอมสามารถรวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อน เช่นในของแข็งและของเหลว
ซึ่งเมื่อต้องการทำให้แยกออกจากกันจะต้องใช้พลังงานจำนวนหนึ่ง และการที่อะตอมสามารถรวมกัน
เป็นโมเลกุลเมื่อต้องการให้สลายตัวกลับมาเป็นอะตอมจะต้องใช้พลังงานจำนวนหนึ่ง เช่นกัน
แสดงว่าอะตอมเหล่านั้นมีแรงยึดเหนี่ยวต่อกัน

          แรงยึดเหนี่ยวของสารมี 2 ประเภท
         1. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล การทำให้สารเปลี่ยนแปลงจะต้องใช้พลังงานจำนวนหนึ่ง
ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของสาร ข้อมูลที่ยืนยันว่าสารมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล ได้แก่
จุดเดือด จุดหลอมเหลว ความร้อนแฝง การที่ต้องใช้พลังงานจำนวนหนึ่งทำให้ของแข็งหลอมเหลว
หรือเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว การที่จะให้ของเหลวเดือดหรือเปลี่ยนแปลงสถานะ
จากของเหลวกลายเป็นไอ เช่น น้ำในสถานะของเหลว ณ อุณหภูมิห้อง เมื่อได้รับความร้อนจะระเหย
กลายเป็นไอ ไอน้ำก็คือโมเลกุลของน้ำ ซึ่งแสดงว่าโมเลกุลของน้ำจะต้องมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกันอยู่
          2. แรงยึดเหนี่ยวภายในโมเลกุล โดยทั่วไป โมเลกุลของสารจะประกอบด้วยอะตอมตั้งแต่
2 อะตอมขึ้นไป เช่น HCl, HNO3, NH3 เป็นต้น (ยกเว้นโมเลกุลของก๊าซเฉื่อยซึ่ง 1 โมเลกุลประกอบด้วยหนึ่งอะตอม เช่น He, Ne, Ar) จากการทดลองพบว่าการที่จะทำให้โมเลกุลเหล่านี้สลายตัวออกเป็น
อะตอมต้องใช้พลังงานจำนวนหนึ่ง เช่น ถ้าต้องการจะทำลายพันธะระหว่างคาร์บอน-คาร์บอน
ในอีเทน(ethane ; H3C-CH3), เอทิลลีน (ethylene ; H2C=CH2) และ อะเซทิลีน (acetylene ; HC=CH)
พันธะของ คาร์บอน-คาร์บอน ในโมเลกุลเหล่านี้เป็น พันธะเดี่ยว พันธะคู่ และพันธะสาม ตามลำดับ
และพลังงานที่ใช้ในการสลายพันธะจะขึ้นอยู่กับชนิดของพันธะระหว่างคาร์บอน-คาร์บอน คือ
       เมื่อ rH = แทนพลังงานที่ถ่ายเทจากสิ่งแวดล้อมเข้าไปในโมเลกุล ส่วนเครื่องหมายบวก (+)
หมายความว่า การสลายพันธะในโมเลกุลเป็นกระบวนการดูดความร้อน (endothermic) จากตัวอย่าง
ข้างต้น แสดงให้เห็นว่าอะตอมของธาตุต้องมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมในโมเลกุลและแรงยึดเหนี่ยว
ระหว่างอะตอมคู่หนึ่ง ๆ ในโมเลกุล เรียกว่า พันธะเคมี (chemical bond)
          การเกิดพันธะเคมีระหว่างอะตอม เป็นการจัดเรียงอิเล็กตรอนระดับวงโคจรนอกสุดหรือ
เวเลนซ์อิเล็กตรอนใหม่ เพื่อให้อยู่ในสภาพที่เสถียร ดังนั้นพันธะเคมีจึงเกี่ยวข้องกับเวเลนซ์อิเล็กตรอน
การที่อะตอมมารวมกันโดยเกิดพันธะเคมีนั้น เพราะสภาพอะตอมที่อยู่รวมกันจะมีเสถียรภาพมากกว่า
สภาพอะตอมที่อยู่โดดเดี่ยว อะตอมจึงพยายามจัดตัวเองให้มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเหมือนกับก๊าซเฉื่อย
(inert gas) ซึ่งเป็นก๊าซที่เสถียร โดยการให้อิเล็กตรอนแก่ธาตุอื่น หรือรับอิเล็กตรอนจากอะตอมอื่น
หรือ ใช้อิเล็กตรอนร่วมกับอะตอมอื่นเป็นคู่ ๆ
          โมเลกุลของสารต่างชนิดกันจำนวนเท่ากัน ใช้พลังงานในการสลายพันธะไม่เท่ากัน แสดงว่า
พันธะเคมีต่างชนิดกันแรงยึดเหนี่ยวก็ต่างกันด้วย ทำให้มีสมบัติแตกต่างกัน


2. พันธะไอออนิก


     2.1 การเกิดพันธะไอออนิก

         พันธะไอออนิก (ionic bond) คือพันธะเคมีที่เกิดจากแรงดึงดูดทางไฟฟ้าสถิตระหว่างไอออนบวก
(positive ions) และไอออนลบ (negative ions) พันธะไอออนิกเกิดขึ้นระหว่างสองอะตอม เมื่อหนึ่ง
อิเล็กตรอน หรือมากกว่า มีการถ่ายเทจาก ชั้นนอกสุด (valence shell) ของอะตอมหนึ่งไปยังชั้นนอกสุด
ของอีกอะตอม อะตอมที่เสียอิเล็กตรอนจะเปลี่ยนไปเป็นไอออนบวก (cation or positive ion) และ
อะตอมที่รับอิเล็กตรอนจะเปลี่ยนไปเป็น ไอออนลบ (anion or negative ion) เมื่อไอออนที่มีประจุไฟฟ้า
ตรงข้ามกันมาดึงดูดกันจำนวนมาก ๆ จะทำให้เกิดเป็นของแข็งไอออนิก (solid ionic) ซึ่งปกติแล้ว
จะเป็นของแข็งที่มีโครงสร้างผลึกที่สมบูรณ์

          การเกิดพันธะไอออนิกสามารถทำความเข้าใจได้จากการถ่ายเทอิเล็กตรอนจากอะตอมของ
โซเดียม (ซึ่งมีการจัดอิเล็กตรอนเป็น [Ne] 3s1) ไปให้อะตอมของคลอรีน ([Ne] 3s23p5) ซึ่งแสดงได้
ดังภาพประกอบที่ 2

                 ภาพประกอบที่ 2  การถ่ายถอดอิเล็กตรอนในสารประกอบไอออนิก
                 ที่มา :  Ebbing and Gammon (2007 : 330)

          ผลจากการถ่ายเทอิเล็กตรอน ก็จะมีไอออนเกิดขึ้น ซึ่งไอออนแต่ละชนิดที่เกิดขึ้นจะมีการ
จัดอิเล็กตรอนเหมือนกับก๊าซเฉื่อย โดยอะตอมของโซเดียม จะเสียอิเล็กตรอนในชั้นพลังงานย่อย 3s
ทำให้มีโครงสร้างอิเล็กตรอนเหมือนกับก๊าซเฉื่อย นั่นคือ [Ne] ส่วนอะตอมของคลอรีนได้รับอิเล็กตรอนเข้าไปในชั้นพลังงานย่อย 3p ทำให้มีโครงสร้างอิเล็กตรอนเหมือนกับอาร์กอน คือ [Ne] 3s23p6
ซึ่งการจัดอิเล็กตรอนของก๊าซเฉื่อยสอดคล้องกับไอออนที่เสถียร ความมีเสถียรภาพของไอออนนี้
เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดเป็นของแข็งไอออนิกอย่าง NaCl
          เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น นักเรียนสามารถพิจารณาการเกิดโซเดียมคลอไรด์ (NaCl)
เพิ่มเติมได้จากภาพประกอบที่ 3




                         ภาพประกอบที่ 3 การเกิดโซเดียมคลอไรด์ (NaCl)
                         ที่มา : Kotz, Treichel and Townsend (2009 : 349)

          ข้อสังเกต อะตอมที่ให้อิเล็กตรอนออกไปกลายเป็นไอออนบวก จะทำให้อนุภาคมีขนาดเล็กลง
(เช่น Na+) ในขณะที่อะตอมที่รับอิเล็กตรอนเข้ามาแล้วกลายเป็นไอออนลบ จะมีขนาดของอนุภาค
ใหญ่ขึ้น (เช่น Cl-) ดังภาพประกอบที่ 4

ภาพประกอบที่ 1.4 การเสียอิเล็กตรอนของโซเดียมอะตอมทำให้มีโปรตอนมากกว่าอิเล็กตรอน
                               อยู่ 1 ดังนั้นโซเดียมไอออนจึงมีประจุเป็น +1 ส่วนคลอรีนเมื่อรับอิเล็กตรอน
                               มา 1 อิเล็กตรอน จึงทำให้มีอิเล็กตรอนมากกว่าโปรตอนอยู่ 1 ส่งผลให้
                               คลอไรด์ไอออนมีประจุเป็น -1
ที่มา : Stoker (2010 : 88)

          โซเดียมไอออน และคลอไรด์ไอออนมีประจุต่างกัน จึงยึดเหนี่ยวด้วยแรงดึงดูดระหว่างประจุ
ไฟฟ้าที่ต่างชนิดกันเกิดเป็นพันธะที่เรียกว่า พันธะไอออนิก และเรียกชื่อว่าโซเดียมคลอไรด์ ซึ่งเป็น
สารประกอบที่เกิดจากพันธะไอออนิกว่า สารประกอบไอออนิก
          ดังนั้น พันธะไอออนิก หมายถึง พันธะเคมีที่เกิดจากการถ่ายเทอิเล็กตรอนจากอะตอม หรือ
กลุ่มอะตอมไปยังอะตอม หรือกลุ่มอะตอมอื่น หรืออาจกล่าวได้ว่า พันธะไอออนิก หมายถึง พันธะที่
เกิดจากการให้และรับอิเล็กตรอนระหว่างอะตอมของธาตุคู่ร่วมพันธะเกิดเป็นไอออนบวกและ
ไอออนลบ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามกฎออกเตต หรืออาจพิจารณาในอีกแง่หนึ่งว่า พันธะไอออนิก
เป็นพันธะที่เกิดจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างไอออนซึ่งมีประจุไฟฟ้าต่างชนิดกัน

          2.2 โครงสร้างของสารประกอบไอออนิก
                 สารประกอบไอออนิกมีโครงสร้างในลักษณะสามมิติที่แน่นอน ไอออนบวกและไอออนลบ
ในสารนั้น ๆ จะจัดเรียงตัวกันอย่างมีระบบ มีอัตราส่วนของจำนวนไอออนที่แน่นอน ไม่สามารถแยกเป็น
โมเลกุลเดี่ยว ๆ ได้ จึงไม่มีสูตรโมเลกุล มีแต่สูตรแอมพิริกัล จึงใช้สูตรแอมพิริกัลป์แทนสูตรเคมีของ
สารประกอบไอออนิก

                โครงสร้างผลึกสารประกอบไอออนิกจะเป็นแบบใดขึ้นอยู่กับ
                1) จำนวนประจุที่เกิดขึ้นบนไอออนบวกและไอออนลบ
                2) อัตราส่วนระหว่างรัศมีไอออนบวกและไอออนลบ

                ลักษณะสำคัญของโครงผลึกของสารประกอบไอออนิก
               1) โครงสร้างของสารประกอบไอออนิกมีลักษณะคล้ายตาข่าย ไม่มีสูตรโมเลกุล
มีแต่สูตรแอมพิริกัล
               2) โครงผลึกของสารประกอบไอออนิกของธาตุหมู่เดียวกัน อาจจะเหมือนกัน หรือ
ไม่เหมือนกันก็ได้
                2.2.1 โครงสร้างของผลึกโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) พบว่า Na+ แต่ละไอออนจะถูกล้อมรอบด้วย Cl- จำนวน 6 ไอออน และ Cl- แต่ละไอออนก็ถูกล้อมรอบด้วย Na+ จำนวน 6 ไอออนต่อเนื่องกันไป มีลักษณะคล้ายโครงผลึกร่างตาข่าย กลายเป็นสารประกอบไม่มีสูตรโมเลกุล มีแต่สูตรเอมพิริกัล
เป็น NaCl ดังภาพประกอบที่ 5

                           ภาพประกอบที่ 1.5 โครงสร้างผลึกของโซเดียมคลอไรด์
                           ที่มา : Razeghi (2009 : 31)

                2.2.2 โครงสร้างของผลึกซีเซียมคลอไรด์ (CsCl) พบว่า Cs+ แต่ละไอออนจะถูกล้อมรอบ
ด้วย Cl- จำนวน 8 ไอออน และ Cl- แต่ละไอออนก็ถูกล้อมรอบด้วย Cs+ จำนวน 8 ไอออน
ต่อเนื่องกันไปดังภาพประกอบที่ 6
                                 ภาพประกอบที่ 6 โครงสร้างผลึกของซีเซียมคลอไรด์
                                 ที่มา : Razeghi (2009 : 32)

                2.2.3 โครงสร้างของผลึกซิงค์ซัลไฟด์ (ZnS) พบว่า Zn+ แต่ละไอออนจะถูกล้อมรอบด้วย S2-
จำนวน 4 ไอออน และ S2- แต่ละไอออนก็ถูกล้อมรอบด้วย Zn+ จำนวน 4 ไอออน ต่อเนื่องกันไป
ดังภาพประกอบที่ 7

                                 ภาพประกอบที่ 7 โครงสร้างผลึกของซิงค์ซัลไฟด์
                                 ที่มา : : Ebbing and Gammon (2007 : 456)

               2.2.4 โครงสร้างของผลึกแคลเซียมฟลูออไรด์ (CaF2) พบว่า Ca2+ แต่ละไอออนจะถูกล้อมรอบด้วย F- จำนวน 8 ไอออน และ F- แต่ละไอออนก็ถูกล้อมรอบด้วย Ca2+ จำนวน 4 ไอออน ต่อเนื่องกันไป ดังภาพประกอบที่ 8

                                  ภาพประกอบที่ 8 โครงสร้างผลึกของแคลเซียมฟลูออไรด์
                                  ที่มา : Verma, Khanna, and Kapila. (2008 : 150)

2. การอ่านชื่อและเขียนสูตรสารประกอบไอออนิก (Ionic Compounds)

          สารประกอบไอออนิกทุกชนิดประกอบด้วยโลหะ(metal) และอโลหะ (nonmetal) เช่น NaCl (ยกเว้น เกลือแอมโมเนียม เช่น NH4Cl) ซึ่งในการอ่านชื่อสารประกอบไอออนิกนั้นจะต้องอ่านชื่อของไอออนบวก (cation) ก่อนแล้วตามด้วยไอออนลบ (anion) เช่น

                                  Potassium Sulfate
                         ชื่อไอออนบวก  ชื่อไอออนลบ
                           (cation name)      (anion name)

          ก่อนที่จะอ่านชื่อสารประกอบไอออนิกนั้น นักเรียนจำเป็นต้องสามารถเขียนและอ่านชื่อไอออนได้
ไอออนที่ง่ายที่สุดคือ มอนอะตอมมิก (monatomic) ซึ่ง มอนอะตอมมิกไอออน (monatomic ion)
เป็นไอออนที่เกิดจากอะตอมเดี่ยว (single atom) ในตารางที่ 1 เป็นรายการของไอออนเดี่ยวธรรมดา
ของธาตุในหมู่หลัก (main-group elements) ซึ่งมีกฎในการอธิบายเกี่ยวกับประจุของไอออนเดี่ยวดังนี้

        กฎในการอธิบายเกี่ยวกับประจุของไอออนเดี่ยว         
        กฎการอธิบายเกี่ยวกับประจุของไอออนเดี่ยว ดังนี้
         1. ธาตุโลหะที่อยู่ในหมู่หลัก (main-group) เกือบทั้งหมด เป็นไอออนเดี่ยวที่มีประจุไฟฟ้าเป็นบวกเท่ากับเลขหมู่ของตารางธาตุ เช่น อลูมิเนียม อยู่ในหมู่ IIIA ซึ่งเป็นอะตอมเดี่ยว Al3+
         2. ธาตุโลหะบางชนิดที่มีเลขอะตอมมาก ๆ ยกเว้นที่กล่าวถึงในกฎของที่ 1 ธาตุเหล่านี้จะให้ไอออนธรรมดาที่มีประจุไฟฟ้าเป็นบวก และเท่ากับเลขของกลุ่มลบด้วยสอง นอกจากนี้ยังมีไอออนบวกที่มีประจุไฟฟ้าเท่ากับเลขที่หมู่อีกด้วย เช่น ไอออนธรรมดา (common cations) ของตะกั่วคือ Pb2+ (เลขที่ของหมู่คือ 4 ประจุไฟฟ้า จึงเท่ากับ 4-2) นอกจากนี้ในสารประกอบบางชนิดประกอบด้วย Pb2+ บางชนิดประกอบด้วย Pb4+

ตารางที่ 1  ไอออนเดี่ยวธรรมดาของธาตุหมู่หลัก
       3. ธาตุแทรนซิชันเกือบทุกชนิดเกิดเป็นไอออนบวกได้มากกว่า 1 ชนิด แต่ละชนิดจะมีประจุไฟฟ้าแตกต่างกัน และเกือบทุกธาตุมีจะมี 1 ไอออนที่มีประจุไฟฟ้าเป็น +2 เช่น เหล็กมีไอออนธรรมดา เป็น Fe2+ และ Fe3+ ทองแดงก็มีไอออนธรรมดา เป็น Cu+ และ Cu2+
       4. ไอออนเดี่ยว ที่มีประจุไฟฟ้าเป็นลบของธาตุอโลหะในหมู่หลัก จะเท่ากับเลขหมู่ลบด้วย 8 เช่น ออกซิเจนมีไอออนเดี่ยว เป็น O2- (เลขที่หมู่คือ 6 ดังนั้นประจุของไอออนจึงเป็น 6-8)
นอกจากนี้ สูตรของไอออนเดี่ยว เขียนได้โดย เขียนสัญลักษณ์ของธาตุนั้น แล้วเขียนประจุไฟฟ้าไว้ทางมุมขวาบนของสัญลักษณ์ โดยตัวเลขที่บอกขนาดให้เขียนไว้ข้างหน้าของประจุ + หรือ – โดยถ้าประจุไอออนเป็น +1 หรือ -1 ก็ให้ละไว้ไม่ต้องเขียนเลข 1

          3. กฎสำหรับการอ่านชื่อไอออนเดี่ยว
          กฎสำหรับการอ่านชื่อไอออนเดี่ยวไว้ดังนี้
          3.1 ชื่อของไอออนเดี่ยว ที่มีประจุไฟฟ้าเป็นบวก (cations) จะเรียกตามชื่อของธาตุ ถ้ามีเพียงไอออนเดียว เช่น Al3+ จะเรียกว่า อะลูมิเนียมไอออน (aluminium ion) , Na+ จะเรียกว่า โซเดียมไอออน (sodium ion)
          3.2 ถ้าไอออนบวกของธาตุใด มีประจุมากกว่า 1 ชนิด ให้ระบุไอออนนั้นด้วยเลขโรมัน ตามประจุของไอออนนั้น เช่น Fe2+ เรียกว่าไอร์ออน (II) ไอออน และ Fe3+ เรียกว่า ไอร์ออน (III)ไอออน
กรณีที่ชื่อธาตุนั้นมาจากภาษลาติน ตามระบบของการเรียกชื่อ (nomenclature) แล้วจะต้องเติมคำว่า “-อัส” (-ous) และ “-อิก” (-ic) ต่อท้ายในชื่อหลัก เพื่อระบุให้ทราบว่าไอออนนั้นมี ประจุต่ำกว่า (lower
charge) และ มีประจุสูงกว่า (higher charge) ตามลำดับ เช่น Fe2+ จะเรียกว่า เฟอร์รัสไอออน (ferrous ion) ; Fe3+ จะเรียกว่า เฟอร์ริกไอออน (ferric ion) Cu+ จะเรียกว่า คิวปรัสไอออน (cuprous ion) ; และ Cu2+ จะเรียกว่า คิวปริกไอออน (cupric ion)
          ตารางที่ 2 เป็นรายการของไอออนบวกธรรมดา ของธาตุแทรนซิชันบางธาตุซึ่งเกือบทั้งหมดของธาตุเหล่านี้จะมีไอออนมากกว่า 1 ชนิด ดังนั้นจึงต้องมีการระบุชนิดของประจุด้วยเลขโรมัน มีเพียงไม่กี่ธาตุที่มีไอออนชนิดเดียว เช่น สังกะสี มีไอออนชนิดเดียว ดังนั้นจึงเขียนตามชื่อของโลหะตามปกติซึ่งไม่ผิด แต่อย่างไรก็ตามเวลาอ่านชื่อของ Zn2+ ก็ให้อ่านเป็น ซิงค์ (II) ไอออน
          3.3 ชื่อของไอออนเดี่ยว ที่มีประจุไฟฟ้าเป็นลบ (anions) จะอ่านตามชื่อหลักของธาตุ แล้วต่อท้ายด้วยคำว่า “-ไอด์” (-ide) เช่น Br- จะอ่านว่า โบรไมด์ไอออน (bromide ion) ซึ่งเกิดจากชื่อหลัก คือโบรม- (brom-) สำหรับ โบรมีน (bromine) และต่อท้ายด้วยคำว่า –ไอด์
        4. ไอออนที่มีหลายอะตอม (polyatomic ion) คือ ไอออนที่มีสองอะตอมหรือมากกว่าสองอะตอมเกิดพันธะเคมีกัน แล้วมีประจุไฟฟ้าเกิดขึ้น ในตารางที่ 2.3 เป็นรายการของไอออนที่มีหลายอะตอม สำหรับสองรายการแรกนั้นเป็นไอออนบวก (Hg2+ และ NH4+) นอกนั้นเป็นไอออนลบ สำหรับการเขียนสูตรของไอออนเหล่านี้ค่อนข้างจะซับซ้อน ซึ่งมีแนวทางดังนี้

               4.1 ไอออนเกือบทั้งหมดในตารางที่ 2.3 เป็นพวก ออกโซแอนไอออน (oxoanions) หรือบางทีก็เรียกว่า ออกซีแอนไอออน(oxyanions) ซึ่งมีออกซิเจนต่ออยู่กับอีกธาตุหนึ่ง (เราเรียกอะตอมที่ออกซิเจน
มาต่อด้วยนี้ว่าอะตอมกลาง) เช่น กำมะถัน (Sulfur) เกิดเป็นสารพวกออกโซแอนไอออนที่มีชื่อว่าซัลเฟต ไอออน (sulfate ion, SO42-) และซัลไฟต์ไอออน (sulfite ion, SO32-) )

ตารางที่ 3  แสดงรายการของไอออนที่มีหลายอะตอมบางชนิด
ที่มา  :  Ebbing and Gammon (1999 : 67)
             
                4.2 การอ่านชื่อของ ออกโซแอนไอออน ตามคุณลักษณะของธาตุ และต่อท้ายด้วยคำว่า “-เอต” (-ate) หรือ “-ไอต์” (-ite) นี้ ข้อสังเกตที่น่าสนใจก็คือ คำที่นำมาต่อท้ายนี้จะมีความสัมพันธ์กับจำนวนอะตอมของออกซิเจนในออกโซแอนไอออน กล่าวคือ ชื่อของออกโซแอนไอออนที่มีจำนวนอะตอมของออกซิเจนมากกว่า จะต่อท้ายด้วยคำว่า –เอต และชื่อของ ออกโซแอนไอออนที่มีจำนวนอะตอมของออกซิเจนน้อยกว่าจะต่อท้ายด้วยคำว่า –ไอต์ เช่น SO32- จะอ่านว่า ซัลไฟต์ไอออน และ SO42- จะอ่านว่า ซัลเฟตไอออน และตัวอย่างอื่น ๆ เป็น ออกโซแอนไอออนของไนโตรเจนในตาราง 3  
NO2- อ่านว่า nitrite ion ในขณะที่ NO3- อ่านว่า nitrate ion
          โชคไม่ดีที่คำต่อท้ายไม่ได้บอกจำนวนอะตอมที่แท้จริงของออกซิเจนในออกโซแอนไอออน
แต่จะมีความสัมพันธ์กับจำนวนออกซิเจนเท่านั้น อย่างไรก็ตามถ้ากำหนดสูตรของไอออนลบมาให้สองสูตรก็สามารถบอกชื่อของไอออนลบนั้นได้
               4.3 ในบางกรณี คำว่า –ไอต์ และ –เอต ไม่เพียงพอในการบอกคุณลักษณะของธาตุ เช่น
ออกโซ-แอนไอออนของคลอรีน ในตาราง 2.3 ได้แก่ ClO-, ClO2- , ClO3- , and ClO4- ในกรณีนี้ จะเติมคำเข้าไป หน้าชื่อหลัก (prefixes) เช่น hypo- (ไฮโป-) และ per- (เปอร์-) ถูกใส่เข้าไปเพื่อช่วยขยายความหมายของออกโซแอนไอออน สองตัว ที่มีออกซิเจนแตกต่างกัน ให้ชัดเจนมากขึ้น และสำหรับ ออกโซแอนไอออน สองตัวที่มีจำนวนออกซิเจนน้อยที่สุดคือ ClO- and ClO2- ชื่อของทั้งสองไอออนจะมีคำว่า –ไอต์ (-ite) ต่อท้ายโดยไอออนที่มีออกซิเจนน้อยกว่าจะใส่คำว่า ไฮโป (hypo-) เข้าไปข้างหน้าด้วย ดังนี้
                         ClO- hypochlorite ion
                         ClO2- chlorite ion
            ส่วนออกโซแอนไอออนสองตัวที่มีออกซิเจนมากที่สุด (ClO3- , and ClO4- ) ชื่อของสองไอออนนี้จะใส่คำว่า –เอต (-ate) ต่อท้ายชื่อหลักเหมือนกัน และจะมีคำว่า เปอร์- (per-) เติมเข้าไปข้างหน้าสำหรับไอออนที่จำนวนออกซิเจนมากกว่า ดังนี้
                         ClO3- chlorate ion
                         ClO4- perchlorate ion
               4.4 ไอออนที่มีหลายอะตอม บางไอออน ในตาราง 2.3 เป็น ออกโซแอนไอออน ที่มีการเกิดพันธะกับไฮโดรเจนไอออน (H+) หนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่ง ไอออน ซึ่งบางครั้งออกโซแอนไอออนเหล่านี้ถูกเรียกว่าเป็นกรดที่มีไอออนลบ (acid anions) เพราะ กรดคือสารที่ให้ H+ เช่น โมโนไฮโดรเจนฟอสเฟต ไอออน (monohydrogen phosphate ion ; HPO42-) จะมี ฟอสเฟตไอออน (PO43-) เกิดพันธะกับ ไฮโดรเจนไอออน (H+) คำว่า โมโน- (mono-) มาจากภาษากรีก ที่แปลว่า “หนึ่ง” (one) คล้าย ๆ กัน ได- (di-) ก็มาจากภาษากรีก ที่แปลว่า “สอง” (two) ดังนั้น ไดไฮโดรเจนฟอสเฟตไอออน ก็คือ มีฟอสเฟตไอออน เกิดพันธะกับไฮโดรเจนไอออน 2 ไอออน อย่างไรก็ตามมีบางไอออนยังใช้วิธีเรียกแบบเดิม เช่น ไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออน (hydrogen carbonate ions) และ ไฮโดรเจนซัลเฟตไอออน (hydrogen sulfate ions) จะเรียกว่าไบคาร์บอเนต (bicarbonate) และ ไบซัลเฟต (bisulfate) ตามลำดับ
               4.5 ไอออนลบกลุ่มสุดท้าย ในตาราง 2.3 คือ ไธโอซัลเฟตไอออน (S2O32-) คำว่า ไธโอ- (thio-) มีความหมายว่า ออกซิเจนใน (SO42-) ถูกแทนที่ด้วยอะตอมของกำมะถัน

5.  การอ่านชื่อของสารประกอบไอออนิก
          เมื่อโลหะเช่น โซเดียม รวมกับอโลหะ เช่น คลอรีน จะมีสารประกอบเกิดขึ้น ซึ่งเป็นสารประกอบ
ที่ประกอบด้วยไอออน โดยโลหะจะเสียหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งอิเล็กตรอน กลายเป็นไอออนบวก และอโลหะจะรับหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งอิเล็กตรอนเกิดเป็นไอออนลบ ทำให้ได้สารที่เรียกว่าสารประกอบไอออนคู่ (binary ionic compound) สารประกอบไอออนคู่จะประกอบด้วยไอออนบวก (cation) ซึ่งปกติแล้วจะเขียนไว้หน้าสูตร แล้วตามด้วยไอออนลบ (anion) ดังนั้นชื่อของสารประกอบจึงเรียกตามชื่อของไอออนและถ้าใช้ไอออนบวกของโลหะเป็นเกณฑ์แล้ว สามารถแบ่งสารประกอบไอออนคู่ ได้สองชนิดคือ   1) เป็นสารประกอบ ที่มีโลหะเกิดเป็นไอออนบวกเพียงชนิดเดียว 2) เป็นสารประกอบที่มีโลหะเกิดเป็นไอออนบวกสองหรือมากกว่าสองชนิดที่แตกต่างกัน
              5.1 สารประกอบไอออนิกชนิดที่ 1 มีกฎการเรียกชื่อดังนี้
                      5.1.1 ปกติจะเรียกชื่อของไอออนบวกก่อน แล้วตามด้วยไอออนลบ
                      5.1.2 ไอออนบวก (ที่เกิดจากอะตอมเดี่ยว) ถูกตั้งชื่อจากชื่อของธาตุ เช่น Na+ ถูกเรียกว่า โซเดียมในการเรียกชื่อสารประกอบที่มีไอออนนั้นเป็นองค์ประกอบ
                      5.1.3 ไอออนลบ (ที่เกิดจากอะตอมเดี่ยว) ถูกตั้งชื่อโดยเรียกส่วนแรกของชื่อธาตุ แล้วเติมคำว่า –ไอด์ (-ide) ต่อท้าย ดังนั้น Cl- จึงถูกเรียกว่า คลอไรด์  เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการเรียกชื่อตามกฎนี้ จะยกตัวอย่างการเรียกชื่อสารประกอบบางชนิด เช่น NaI มีชื่อว่า โซเดียมไอโอไดด์ (Sodium iodide) ประกอบด้วย Na+ (โซเดียมไอออน) และ I-
(ไอโอไดด์ไออน) กรณีคล้าย ๆกัน สารประกอบ CaO ถูกเรียกว่า แคลเซียมออกไซด์ (calcium oxide) เพราะประกอบด้วย Ca2+ (แคลเซียมไอออน) และ O2-(ออกไซด์ไอออน) เพื่อให้เกิดความชัดเจน เกี่ยวกับกฎการอ่านชื่อสารประกอบไอออนคู่ (binary compound) ให้พิจารณาตัวอย่างดังตารางที่  4
ตารางที่ 4  ชื่อสารประกอบไอออนคู่บางชนิด


 
 
 
 
 
         


         ข้อสังเกต เกี่ยวกับสูตรของสารประกอบไอออนิก ก็คือไอออนเดี่ยวถูกนำเสนอด้วยสัญลักษณ์ธาตุ เช่น Cl จะหมายถึง Cl- , Na จะหมายถึง Na+ อย่างไรก็ตามเมื่อแต่ละไอออนถูกแสดง จะมีการนำเสนอประจุของไอออนด้วย ดังนั้นสูตรของโพแทสเซียมโบรไมด์จึงเขียนได้เป็น KBr แต่เมื่อโพแทสเซียม และโบรไมด์ ไอออนแสดงแยกกันต่างหาก และเขียนเป็น K+ และ Br-
           ตัวอย่างที่ 2.1 จงเขียนชื่อของสารประกอบชนิดอะตอมคู่ จากสูตรที่กำหนดให้ต่อไปนี้
           a. CsF      b. AlCl3        c. MgI2
       วิธีทำ เราจะเรียกชื่อสารประกอบดังกล่าวตามระบบต่อไปนี้
        a. CsF
       ขั้นที่ 1 พิจารณาหาไอออนบวก และไอออนลบ ซึ่ง Cs เป็นธาตุในหมู่ที่ 1
        จึงเกิดเป็นไอออนที่มีประจุไฟฟ้า เป็น 1+ หรือ Cs+ และเพราะ F เป็นธาตุในหมู่ 7 จึงเกิดเป็นไอออนที่มีประจุไฟฟ้าเป็น 1- หรือ F-
        ขั้นที่ 2 การอ่านชื่อของไอออนบวก, Cs+ จะเรียกว่า ซีเซียม ซึ่งจะเรียกเหมือนกับชื่อของธาตุซีเซียม
        ขั้นที่ 3 การอ่านชื่อของไอออนลบ, F- จะถูกเรียกว่า ฟลูออไรด์ ซึ่งเป็นชื่อของ ธาตุฟลูออรีนที่มีการเติมคำว่า –ไอด์ (-ide) เข้าไปในตอนท้ายของชื่อธาตุ
        ขั้นที่ 4 การอ่านชื่อของสารประกอบ ปฏิบัติโดยการรวมชื่อของแต่ละไอออนเข้าด้วยกัน ดังนั้นชื่อของ CsF จึงเป็น ซีเซียมฟลูออไรด์ (ข้อควรจำ ชื่อของไอออนบวกจะถูกอ่านก่อน)



นักเคมีได้เสนอให้ใช้เลขโรมันในการระบุชนิดของประจุไฟฟ้าบนไอออนบวก โดยพิจารณา
สารประกอบ FeCl2 ในที่นี้จะเห็นว่าเหล็กสามารถเกิดเป็น Fe2+ หรือ Fe3+ ดังนั้นเราต้องพิจารณาว่าไอออนบวกในสารประกอบจะเป็นเท่าใด ซึ่งเราสามารถหาประจุบวกในไอออนของเหล็กได้ โดยอาศัยหลักการทำให้ประจุไฟฟ้าสุทธิเป็นศูนย์ ดังนี้



4 ความคิดเห็น:

Nutcha กล่าวว่า...

เริ่มต้นปีคือมกรา ถ้าเริ่มต้นคบกันมาคือตลอดไป joker123

popmilkk กล่าวว่า...

pussy888


This article is very good and useful.

caelansabatini กล่าวว่า...

TITIAN GRAND RAPIDS - ITIAN RAPIDS
TITIAN GRAND RAPIDS titanium symbol - ITIAN RAPIDS is located on the property. titanium bike frame In hypoallergenic titanium earrings the heart titanium chainmail of Tuscany, there are some titanium legs beautiful and breathtaking

Unknown กล่าวว่า...

s320n7bhkya895 dildos,silicone sex doll,sex chair,cheap sex toys,penis pumps,dog dildo,sex chair,horse dildo,Panty Vibrators q816d5bmqpy852